[x] ปิดหน้าต่างนี้




เมนูหลัก
โรงเรียน
ระบบงาน
ประวัติพระโอภาสพุทธิคุณ
ชีวิตบั้นปลาย  
 

opat09

ชิวิตบั้นปลาย
หลวงปู่ท่านได้อาพาธด้วยโรคมะเร็งในหลอดลม เพราะท่านถือว่าเป็นคนสูบบุหรี่จัดคนหนึ่ง ท่านก็ได้พูดคุยปรึกษาหารือกับคณะกรรมการศรัทธาชาวบ้าน ว่าจะไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชกรุงเทพมหานคร ใช้เวลารักษาตัวประมาณเดือนกว่า อาการอาพาธก็ยังไม่ทุเลากลับยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆหมอจึงแนะนำให้ท่านกลับวัด ขณะที่ท่านอาพาธอยู่ที่วัดถิ่นใน ผู้คนที่ศรัทธาได้ทราบข่าวก็เดินทางมาเยี่ยมท่านไม่ขาดสาย ทั้งผู้นำฝ่ายสงฆ์และข้าราชการผู้ใหญ่ ตลอดจนถึงลูกศิษย์ลูกหาที่ทราบข่าว ซึ่งระหว่างนั้นหมอได้แนะนำไว้ให้ท่านพยายามพูดให้น้อยลง เพราะหลอดลมของท่านอักเสบมาก เวลาพูดเสียงจะเบาและแหบพร่า

อาการกลับรุนแรงขึ้นอีก ชาวบ้านศรัทธาจึงนำท่านกลับเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแพร่ แต่อาการโรคมะเร็งของท่านก็รุกรามรุนแรงจนหมอไม่สามารถจะรักษาได้แล้ว ท่านได้ถึงแก่มรณภาพ ณ ตึกสงฆ์อาพาธโรงพยาบาลแพร่ เมื่อ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ เวลาประมาณ ๑๕.๓๐ น.ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวบ้านถิ่นเป็นอย่างมาก สิริรวมอายุได้ ๖๖ ปี ๑๑ วัน พรรษา ๔๖ รวมชีวิตในผ้ากาสาวพัตร ๕๑ ปี

คณะกรรมการได้นำสรีระร่างอันไร้วิญญานของท่านกลับวัดถิ่นใน ให้ญาติโยมศรัทธาได้รดน้ำศพและบำเพ็ญกุศลเป็นเวลาถึง ๗ วัน แล้วจึงอัญเชิญร่างของท่านบรรจุในโกฏไม้สักทองในท่านั่งพับเพียบประนมมือ หลังจากนั้นคณะกรรมการฝ่ายสงฆ์และกรรมการศรัทธาลูกศิษย์ได้ประชุมตกลงกันเป็นเอกฉันท์ว่าให้เก็บศพของท่านไว้ ๑ ปี และเมื่อเกือบครบปีแล้วก็ได้เคลื่อนโกฏบรรจุสรีระร่างของท่านจากวัดถิ่นในไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ เมรุชั่วคราว สนามโรงเรียนบ้านถิ่น (โอภาสประชาสงเคราะห์) คือ โรงเรียนถิ่นโอภาสวิทยาในปัจจุบัน

ตั้งศพบำเพ็ญกุศลอยู่ ๗ วัน ๗ คืน โดยในขณะนั้นเหล่าศิษยานุศิษย์ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อช่วยในงานพระราชทานเพลิง เรียกกันว่า "กลุ่มพุทธชน" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "กลุ่มศิษย์โอภาส" และต่อมาเปลี่ยนเป็น "กลุ่มรวมมิตร" ในปัจจุบัน ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ใน วันอาทิตย์ ที่ ๓ เดือนเมษายน ปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ (วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ) เวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น. ประชุมเพลิง

หลังเสร็จงานศพแล้ว ได้มีเงินคงเหลือ ๗,๗๗๙ บาท(เจ็ดพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบเก้าบาท) คณะกรรมการได้นำไปสมทบกับเงินของ พ่อกำนันแก้ว ธรรมสรางกูร ซึ่งร่วมบริจาคซื้อที่ดินเพิ่มให้โรงเรียนบ้านถิ่น (ถิ่นวิทยาคาร)สถานที่สร้างอาคาร ๑ เดี๋ยวนี้นั่นเอง (เดิมโรงเรียนมีที่ดินเพียงไร่เศษเท่านั้น ต่อมาท่านได้ขยายที่ดินให้จนเห็นกว้างขวางในปัจจุบัน)