[x] ปิดหน้าต่างนี้




เมนูหลัก
โรงเรียน
ระบบงาน
ประวัติพระโอภาสพุทธิคุณ
การปกครอง  
 

opat02

การปกครอง
ด้านการปกครองสมัยที่ท่านเป็นรองเจ้าอาวาส ครูบาธรรมเสนา เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระมีคาถาอาคมทางไสยศาสตร์ สามารถรักษาโรคกระดูก ต่อกระดูก และรักษาภัยต่าง ๆ ได้และสมัยนั้นมีพระภิกษุ-สามเณรเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านเมื่อมีลูกหลานอายุครบบวชก็จะให้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ-สามเณรกัน เพื่อให้มีโอกาสได้เรียนหนังสือและฝึกหัดอบรมจิตใจตนเองครูบาธรรมเสนา จึงมอบหมายให้ท่านเป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองดูแล พระภิกษุ-สามเณร-ศิษย์วัด(ขโยม)

การปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก ท่านจะจัดระเบียบให้พระภิกษุ-สามเณร-ศิษย์วัด ทำวัตรเช้า-เย็น ทุกวัน โดยมีบัญชีเรียกชื่อในการทำวัตรด้วยถ้าใครขาดทำวัตรก็จะถูกทำโทษ สวดมนต์เสร็จก็ให้เณรมื้อ(เวร)อ่านข้อกติกา กฎ ระเบียบของวัดแทบทุกครั้งเพื่อเตือนสติผู้บวชให้จดจำไม่ล่วงละเมิด รวมไปถึงได้ให้ปกครองดูแลศรัทธาชาวบ้านไปด้วย ผู้ที่ทำผิดต้องถูกเรียกมาสั่งสอน แนะนำ และทำโทษ หนัก-เบาแล้วแต่กรณีโทษ ถ้าเป็นพระภิกษุ-สามเณร หากโทษหนักก็ให้สึก

เมื่อมีงานวัดหากชาวบ้านเกิดการทะเลาะวิวาทกัน ท่านก็จะใช้ไม้เรียวไล่ตีคู่กรณีให้หยุดการวิวาทกัน โดยที่ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ไม่มีใครกล้าทำอย่างท่าน เพราะท่านถือว่าทุกคนเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ท่านมีหน้าที่สั่งสอนให้เป็นคนดีของสังคม ชาวบ้านยำเกรงท่านมากเมื่อเดินทางใกล้เขตวัดแล้วทุกคนจะไม่ให้มีเสียงเอะอะโวยวายหรือจุดประทัดรบกวนชาวบ้านเป็นอันขาด เพราะหากว่าเสียงได้ยินถึงหูท่านแล้วจะเรียกมาทำโทษ เช่นให้ขนทรายเข้าวัดบ้าง ให้ขุดบ่อน้ำดื่มสาธารณะบ้าง ให้ดายหญ้าถางหญ้าบ้าง เป็นต้น

วัดถิ่นใน เป็นสถานที่ผลิตช่างก่อสร้าง(สล่า) ช่างไม้ ช่างปูน ท่านเห็นว่าพระภิกษุ-สามเณร มีมากบางคราวอยู่ว่าง เสียดายเวลา ท่านก็ให้ฝึกหัดให้เป็นช่าง ตอนแรกก็ทำหีบไม้ ต่อมาก็ทำตู้ โต๊ะ ม้านั่ง ทั้งนี้เพราะท่านก็เป็นช่างจากการชอบสังเกตแล้วนำมาปฏิบัติ สามารถออกแบบออกแปลนเองได้ เวลาทำงานท่านก็ไม่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หากลงมือทำไปด้วยท่านนำพระภิกษุ-สามเณร-ชาวบ้าน สร้างศาลาการเปรียญ กุฏิ ๓ หลังปัจจุบันของวัดถิ่นใน โดยไม่มีการจ้างเหมา

วัสดุก่อสร้างก็ไปหาเอาเองไม่ได้ซื้อหาได้ง่ายเหมือนสมัยนี้ แต่หาได้ง่ายจากป่าไม้ซึ่งมีมากมาย ปูนซีเมนต์สำหรับก่อ ฉาบ กุฏิ ท่านก็เป็นพาพระ-เณรไปเผาผาที่แม่แคมนำมาผสมกับยางไม้เมฆ  (ไม้ชนิดหนึ่ง)  จนสามารถสร้างกุฏิ ๓ หลังสำเร็จเรียบร้อยและมั่นคงถาวรจนถึงปัจจุบัน   สร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านถิ่น(ถิ่นวิทยาคาร)และอาคารเรียนโรงเรียนบ้านถิ่น(โอภาสประชาสงเคราะห์)โดยอาศัยแรงงานชาวบ้านช่วยกัน ท่านเป็นผู้เสียสละทั้งกำลังปัญญาและกำลังทรัพย์ให้ ดังนั้นคนที่สึกขาลาเพศไปทุกคนจึงมีวิชาชีพด้านช่างไม้ช่างปูนติดตัวไปด้วยเพราะได้ฝึกฝนจากวัดจนเกิดความชำนาญ