ในปี 1918 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัส Influenza เป็นชื่อที่น่าฟัง แต่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ที่คนติดเชื้อมากถึง 500 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลกในขณะนั้น และมีคนตายไปกว่า 50 ล้านคน และแม้จะไม่ใช่ช่วงเวลาของการระบาด ก็ยังมีผู้ใหญ่ 5-10% และเด็ก 20-30% ที่ติดเชื้อ คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบครึ่งล้านในแต่ละปี
เช่นดียวกันกับไวรัส Rhinovirus ที่มันสามารถทำลายล้างได้แม้จะมีโครงสร้างทางพันธุกรรมที่เรียบง่าย มันมีเพียงแค่ 13 ยีนเท่านั้น มันแพร่กระจายผ่านของเหลวที่คนป่วยติดเชื้อจากการไอหรือจาม จากน้ำมูก เหยื่อรายต่อไปอาจจะเผลอหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป หรือจับสัมผัสกับพื้นผิวที่คนติดเชื้อทิ้งไว้ และเอามือไปจับหน้า จับจมูก ขยี้ยา
เมื่อเชื้อไวรัสเข้าไปในจมูกหรือลำคอ มันก็จะหลุดเข้าไปในเยื่อบุหลอดลม แต่ละเซลล์ที่ไวรัสผ่านเข้าไป มันก็จะถูกทำลาย กล้ามเนื้อและเยื่อบุหลอดลมก็จะถูกทำลายตามๆ กันไป
คนปกติที่ติดเชื้อไวรัส Influenza จะเกิดผลกระทบคือ ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มทำงานต่อต้านเชื้อไวรัสภายในไม่กี่วันหลังติดเชื้อ และเกิดอาการปวด มีไข้ เหนื่อยล้า และอาการจะหมดไปภายในสัปดาห์
ผู้ป่วยน้อยคนที่เป็นเหยื่อของไวรัสชนิดนี้ ไวรัสจะเปิดช่องให้ไวรัสอื่นๆ ที่น่ากลัวเป็นอันตรายยิ่งกว่าเข้ามาในร่างกาย โดยทั่วไปร่างกายคนเรามีเซลล์ที่ทำหน้าที่ขวางกั้นไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาได้ง่ายๆ เชื้อจะถูกดักไว้ใน เสมหะ น้ำมูก หรือขนจมูก และแจ้งเตือนให้ระบบภูมิคุ้มกันรับรู้ทันทีว่ามีสิ่งแปลกปลอมกำลังจะเข้ามา สล็อต pg
แต่เมื่อไวรัส Influenza ได้ทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายเราไปแล้ว เชื้อร้ายอื่นๆ ก็จะสามารถหลุดเข้ามาในร่างกายได้ง่ายๆ และทำให้เกิดการติดเชื้อที่ร้ายแรงยิ่งกว่า เช่น เกิดการติดเชื้อในปอด ปอดบวม
ไวรัส Influenza นั้นมีที่มาจากสัตว์ประเภทนก นกหลายชนิดเป็นพาหะของไวรัสได้โดยที่ไม่ป่วย และการติดเชื้อของนกก็ไม่ได้ติดในหลอดลมแต่ติดเชื้อในระบบลำไส้ และส่งผ่านถึงเหยื่อนกรายใหม่จากแหล่งน้ำ
บางครั้งที่เชื้อเหล่านี้ติดไปในคน เช่น คนที่ทำงานในฟาร์มไก่หรือในตลาดสด ไวรัสนกมาจบที่คนในหลอดลม เพราะมนุษย์มีเซลล์ตัวรับในช่องหลอดลมที่คล้ายกับเซลล์ตัวรับในระบบลำไส้ของนก ดังนั้นไวรัสจึงสามารถหลุดเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์ได้ในบางครั้ง
แต่การกระโดดข้ามจากนกไปยังมนุษย์ก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับไวรัส ยีนส์ที่ไวรัสต้องการเพื่อใช้ในการขยายจำนวนนั้นแตกต่างจากยีนส์ของมนุษย์ และร่างกายมนุษย์ก็เย็นกว่านก
ดังนั้นโดยทั่วไปไวรัสที่กระโดดข้ามจากนกไปยังคนจึงหมดทางไป เพราะมันไม่สามารถขยายจากคนไปสู่คนได้ ในปี 2005 ไวรัส H5N1 ที่มาจากนกก็ทำร้ายหลายร้อยคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มันก็ไม่สามารถกระโดดข้ามจากคนไปสู่คนได้ หลังจากที่ติดเชื้อในคนแล้ว ไม่ระบบภูมิต้านทานของคนที่กำจัดไวรัสได้ ก็เป็นไวรัสที่กำจัดเหยื่อนั้น และไม่ว่าทางไหนไวรัสก็เจอทางตัน
แต่ว่าไวรัสก็สามารถปรับตัวเข้ากับร่างกายมนุษย์ แต่ละครั้งที่มัน Copy ตัวเอง ก็เกิดความผิดพลาดทางพันธุกรรมหรือเกิดการกลายพันธุ์ การกลายพันธุ์บางครั้งอาจไม่ได้มีผลดีกับไวรัส บางครั้งการกลายพันธุ์อาจทำให้ไวรัสไม่สามารถ Copy ตัวเองได้อีกต่อไป น้อยครั้งที่การกลายพันธุ์จะทำให้ไวรัสเกิดความได้เปรียบในการขยายพันธุ์
การคัดเลือกตามธรรมชาติชื่นชอบการกลายพันธุ์ที่เอื้อประโยชน์ บางครั้งมันช่วยให้ไวรัสสามารถเปลี่ยนตัวมันเองเพื่อให้สามารถเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้ดีขึ้น จับเซลล์ได้ดีขึ้น บางครั้งมันก็ช่วยให้ไวรัสขยายแพร่เชื้อจากคนไปสู่คนได้
เมื่อไวรัสกระโดดข้ามจากคนที่ติดเชื้อไปสู่คนใหม่ บางครั้งมันก็เข้าครอบครองเหยื่อใหม่ที่ถูกรุกรานจากไวรัสชนิดอื่นแล้ว และไวรัสทั้งสองชนิดก็เกิดการขยายเผ่าพันธุ์ใหม่ในเซลล์เดียวกัน ก็เกิดการผสมพันธุ์กัน เกิดเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมของทั้งสองไวรัส
การผสมกันของไวรัส ทำให้ไวรัสสามารถแลกเปลี่ยนยีนส์และเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เช่น เกิดเป็นความสามารถในการกระโดดจากนกที่อาศัยในป่าเข้าสู่สัตว์เลี้ยง หรือจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ม้าหรือหมู และบางครั้งไวรัสก็เกิดการปรับเปลี่ยนไวรัสจากนกและคน กลายเป็นไวรัสที่ร้ายกาจ ไวรัสที่สามารถแพร่จากคนไปสู่คนได้ และเนื่องจากไวรัสมันไม่เคยวนเวียนอยู่ในคนมาก่อน จึงไม่มีใครสามารถป้องกันมันได้ ไม่สามารถหยุดการระบาดหรือทำให้ช้าลงได้
ไวรัสจากนกที่วิวัฒนาการอยู่ในร่างกายมนุษย์ มันจะถ่ายทอดเปลี่ยนยีนส์ระหว่างกัน การผสมพันธุ์กันนี้ทำให้ไวรัสสามารถเอาตัวรอดจากระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ ก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะคุ้นเคยกับไวรัส มันก็จะกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ เปลี่ยนเร็วมากกว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราจะตามทัน
นักวิทยาศาสตร์ต่างมองหาโอกาสที่จะเกิดการระบาดครั้งใหญ่ เพราะมันอาจอาศัยเพียงแค่การกลายพันธุ์ไม่กี่ครั้งของเชื้อที่อยู่ในนกที่จะวิวัฒนาการไปเป็นเชื้อร้ายที่อยู่ในคน และการผสมพันธุ์ที่จะทำให้เกิดการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่มีใครบอกได้ว่าเมื่อไหร่ ที่ไหน หรือเชื้อร้ายตัวไหนที่จะเกิดการกระโดดข้ามจากสัตว์เข้าสู่คน
แม้เราจะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ ที่ไหน แต่ก็ยังไม่หมดหวังซะทีเดียว เพราะเราก็ยังสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อทำให้การแพร่เชื้อมันช้าลง เช่น ล้างมือ ที่ช่วยลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลงได้
|