[x] ปิดหน้าต่างนี้




เมนูหลัก
โรงเรียน
ระบบงาน
ประวัติพระโอภาสพุทธิคุณ

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ไม่เจริญ เพราะมีแฟน?  VIEW : 176    
โดย mii

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 5
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 100%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 101.108.126.xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 1 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2566 เวลา 10:25:45   

คงสงสัย และแปลกใจไม่น้อยกับชื่อเรื่องที่บอกว่า “ไม่เจริญ เพราะมีแฟน?” บทความนี้ ไม่ได้พูดถึงคนทั่วไปและเป็นอีกเพียงการตั้งข้อสังเกตหนึ่ง สะท้อนจากแง่มุมหนึ่งของชีวิตคนบางคนเท่านั้น ซึ่งอาจไม่ใช่คุณ แต่เชื่อว่ารอบตัวคุณอาจจะมี..

ถ้าคุณอยู่ในวัยที่พบเห็นอะไรมามากพอ หรือวัยกลางคนขึ้นไป อาจนึกตามได้ง่ายกว่า หรือแม้แต่จะอายุไม่มาก (เหมือนผม \(^o^)/) แต่ชอบสังเกตเรียนรู้สิ่งรอบตัว ก็อาจจะพอเห็นภาพได้เช่นกัน ที่ไม่ได้บอกว่าเราจะตัดสินใครเพียงแต่สงสัยว่า ทำไมกันนะ?…

วัยที่ “ความรัก” ทำให้มีปัญหามากที่สุด ควรจะเป็นวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว จริงไหมครับ? เพราะมันเป็นช่วงวัยที่อะไรยังไม่ลงตัว ประกอบกับเป็นวัยที่ “เหมาะสม” จะมีคู่ และมัก “พยายาม” มีคู่ และต้องหาคู่ โดยธรรมชาติ จึงเป็นช่วง “เรียนรู้” ลองถูกผิดกันอยู่ เป็นธรรมดาที่ต้องมีปัญหากันบ่อย

เมื่ออายุมากขึ้นมาโดยทั่วไปความรัก จะเป็นเรื่องเรียบง่ายมากขึ้น ด้วยประสบการณ์ วัยวุฒิ ภาวะอารมณ์ต่าง ๆ ที่อาจพูดโดยรวมได้ว่า “เป็นผู้ใหญ่แล้ว” ถ้าเจาะจงหน่อยก็คงอายุเกิน 30 ขึ้นไป

ผมมีคำถามให้คุณลอง คิด ตอบในใจ ว่า คนที่มีแฟนช่วงอายุ 20-30 กับคนที่มีแฟนตอนอายุ 30-40 แบบไหนน่าจะมีโอกาส “เลิกรา” ง่ายกว่ากัน? (ได้คำตอบไหมครับ)

ซึ่งแน่นอนว่าโอกาสเลิกรามีกันทั้งสิ้นไม่ว่าอายุเท่าใด แต่หากเปรียบเทียบดู อายุน้อยกว่า ก็น่าจะมีโอกาสเลิกรากันง่ายกว่าตามเหตุผลข้างต้น

การมีแฟนควรเป็นเรื่องที่ดี หรือไม่ดี?

จากคำถามนั้น หากอธิบายเป็นคำพูดคงได้ทำนองว่า เด็กคบกันย่อมเลิกกันง่ายกว่าผู้ใหญ่คบกัน ทว่า ถ้าเข้าวัยผู้ใหญ่ วัยกลางคนแล้ว ยังเลิกราบ่อยเหมือนวัยรุ่น หรือเลิกราด้วยสาเหตุแบบเด็ก ๆ อยู่ล่ะ? เช่นนี้มองว่าอย่างไร?

ปัญหาชีวิตคู่ เป็นเรื่องของคนสองคน เขาจะเลิกกันเพราะอะไร ใครผิด/ถูก ให้สรุปแทนกันย่อมไม่ได้ เพียงแต่ผลกระทบที่มากกว่านั้นสำหรับหลายคนคือ เมื่อชีวิตคู่มีปัญหา ย่อมส่งผลต่อชีวิตด้านอื่นด้วย… ลูก, ครอบครัว, หน้าที่การงาน, ความเป็นอยู่, เป้าหมายชีวิต… สล็อต

วัยรุ่น หรือหนุ่มสาว อาจเป็นวัยเริ่มต้นลองผิดลองถูกดังที่กล่าวไป ไม่ใช่แค่เรื่องความรัก แต่รวมถึงเรื่องการงาน และอนาคต การยังไม่เจอสิ่งที่ใช่ย่อมเป็นปกติ และเขายังมีเวลาเลือก แต่หากเข้าสู่วัยที่ควรจะสร้างตัว หรือเริ่มสร้างรากฐานมั่นคงแล้ว เช่นวัย 30+ แล้วยังต้องมีปัญหาชีวิตคู่ซ้ำซาก แบบนี้ การมีแฟนเป็นเรื่องที่ดี หรือไม่ดี?

ชีวิตไม่ค่อยจะดีขึ้นสักด้าน แต่ขยันมีแฟนใหม่

ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจ ผมไม่ได้กำลังสรุปว่า 30+ หรือ 40+ ห้ามมีปัญหา ห้ามเลิกรา หรือมีแฟนใหม่ (ส่วนตัวผมก็ต้องเริ่มใหม่เมื่อ 30+) แต่ในที่นี้กล่าวถึงปัญหา เรื้อรัง ซ้ำซาก ไม่ยอมจบ จบปัญหาไม่ได้ก็ไม่ยอมเลิก กว่าจะเลิกก็ลากยาว เลิกแล้วก็มีใหม่ ใหม่ ๆ ก็ย่อมดี แต่ไม่นานก็คล้ายเดิม สุดท้ายเลิกอีก ชีวิตก็ต้องเริ่มใหม่ ไม่มากก็น้อย แล้วก็แปลกที่เขาจะแสดงท่าทีว่า “ได้แฟนไม่ดี” หรือ “มีแฟนกี่คนก็ไม่ดี” แต่ก็ยังคงมุ่งหน้า “จะมีแฟนใหม่…”

ถ้าพูดสั้น ๆ คือ “ชีวิตไม่ค่อยจะดีขึ้นสักด้าน แต่ขยันมีแฟนใหม่ ให้เป็นปัญหาตลอดเวลา”

ไม่ใช่ทุกคนเป็นเช่นนี้ แต่สำหรับคนที่วนเวียนแบบนี้ หากถามว่าเป็นเพราะอะไร? ว่ากันลงลึกก็คือ อาจเพราะปมภายใต้จิตใจบางประการ ที่มันไม่อาจเข้าใจตัวเองได้ง่ายหรือทันที แต่หากตอบเช่นนี้ไป ก็ยากจะเข้าใจ ที่จริงทางที่ง่ายกว่า คือ ทบทวนตัวเองว่า “เรามองหา หรือกำลังดิ้นรนกับอะไร?” บาคาร่า

เราล้วนมักอยากมีแฟนมาเป็น “คู่ชีวิต” ที่ให้ชีวิตมีอีกคนมาเติมเต็ม, ส่งเสริม, ประคับประคอง พากันก้าวหน้า ช่วยกันในหลาย ๆ ด้าน เพราะคงไม่มีใครอยากมีแฟนมาเป็นตัวถ่วง มาทำให้ระแวง มาทำให้เป็นทุกข์ มาให้ต้องแก้ปัญหา หรือบางทีเราต้องการมีแฟนมาเพื่อชดเชยอะไร? การมีแฟนเพื่ออวด เพื่อเป็นเครื่องประดับ ควงแขน ไปไหนมาไหนด้วยกัน ถ้าเหตุผลประมาณนี้มันก็ดูสำหรับเด็ก ๆ เหมือนคนไม่เคยมีแฟนแล้วเพิ่งอยากมี ถ้าไม่เคยมีจริง ๆ ไม่เสียหายก็ลองมีไป แต่ส่วนใหญ่ในกรณีนี้ล้วนเคยมีมาแล้ว.






Warning: Missing argument 2 for DB::num_rows(), called in /home/opatacth/domains/opat.ac.th/public_html/web/modules/webboard/read.php on line 584 and defined in /home/opatacth/domains/opat.ac.th/public_html/web/includes/class.mysql.php on line 132

Warning: Missing argument 3 for DB::num_rows(), called in /home/opatacth/domains/opat.ac.th/public_html/web/modules/webboard/read.php on line 584 and defined in /home/opatacth/domains/opat.ac.th/public_html/web/includes/class.mysql.php on line 132